การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย  มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา

    ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งสำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จ

    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแบ่งออกเป็นระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง  (เดิมมีเพียง 6 กรม

    เป็น 12 กรม ต่อมาเปลี่ยนเป็นเรียกว่า กระทรวง) ส่วนภูมิภาค (เรียกว่าระบบเทศาภิบาลประกอบด้วย

    หน่วยการปกครองหลักคือมณฑลหรือมณฑลเทศาภิบาล หน่วยการปกครองระดับรองลงมาคือ เมือง

    อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน) และส่วนท้องถิ่น(โดยริเริ่มจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ

    หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม  เมืองสมุทรสาคร   และต่อมาได้มีการตรา

    พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตามหัวเมืองขึ้น  ใช้หลักในการจัดการสุขาภิบาลเป็นการทั่วไป) ได้มีการ

    ปฏิรูปเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จัดระเบียบกลไกการใช้อำนาจรัฐ

    ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476   จัดระเบียบบริหารราชการ

     เป็น 3 ส่วนได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วน

    ท้องถิ่น และได้มีการพัฒนาเรื่อยมาถึงปัจจุบันนี้

             2. หลักการรวมอำนาจ เป็นหลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่รวมอำนาจทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง

                 การรวมอำนาจมีลักษณะอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1.มีการรวมกำลังตำรวจและทหารอยู่ในบังคับบัญชา

                 ของส่วนกลาง 2.มีการสงวนอำนาจการตัดสินใจขั้นสุดท้ายไว้ที่ส่วนกลาง และ 3. มีการกำหนดลำดับ

                 ขั้นการบังคับบัญชาที่ลดหลั่นกันลงไป

             3. หลักแบ่งอำนาจ เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ส่วนกลางได้มอบหมายอำนาจหน้าที่

                 บางส่วนไปให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ประจำอยู่ในภูมิภาคต่างๆ การแบ่งอำนาจมี